20 มีนาคม 2568

PM2.5 คนกรุงตายผ่อนส่ง

image

ผมพูดเรื่อง PM 2.5 มาตลอดเพราะเจอปัญหานี้กับตัวเอง ลูกของผม น้องอิชิ ก็แพ้ PM 2.5 ผื่นขึ้นหน้า ไอจามมาหลายปี เนื่องจากเด็กตัวเล็กนั้นภูมิคุ้มกันยังไม่มาก ผมก็เชื่อว่ายังมีเด็กน้อย ลูกที่น่ารักของคุณพ่อคุณแม่อีกหลายท่านที่ได้รับอันตรายจากปัญหา PM 2.5 เช่นกัน

มีรายงานข่าวออกมาว่าปี 2565 ที่ผ่านมาชาวกรุงเทพฯ ได้สูดอากาศที่ดี เพียงแค่ 49 วัน คิดเป็น 13.42 %หรือประมาณเดือนครึ่งเท่านั้น แถมยังต้องสูดฝุ่น PM 2.5 เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ถึง 1,224 มวนเลยทีเดียว

หลายท่านอาจจะสงสัยว่า บุหรี่ 1,224 ม้วนมากจากไหน ?

เมื่อปลาย ปี 2558 “ริชาร์ด เอ. มุลเลอร์” นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน และเอลิซาเบธ มุลเลอร์ ลูกสาว ได้มีนำเสนอการเปรียบเทียบ การสูดหายใจเอา PM 2.5 เข้าไปในร่างกาย 22 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ใน 1 วัน เทียบเท่ากับ การสูบบุหรี่ 1 มวน เพื่อให้คนได้ตระหนักถึงอันตรายของฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเมื่อมีการเอานำค่าฝุ่นแบบค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงในแต่ละวันของปีก่อนมาคำนวณเปรียบเทียบจะทำให้เราพบว่า ปีที่ผ่านมาเรา ฯ สูดดมฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่ ทั้งหมดจำนวน 1,224.77 มวน หรือเฉลี่ย 3.35 มวน/วัน เลยทีเดียวน่าห่วงมาก

ที่ผ่านมามีการออกมาตรการต่าง ๆ ออกมา เพื่อให้อากาศบริสุทธิ์ขึ้น แต่จากสถิติที่เปรียบเทียบพบว่าค่าฝุ่นในปี 2565 ลดลง 37 มวน จากปี 2564 ที่มีจำนวน 1261 มวน หรือลดไปจากปีก่อนหน้าเพียง 2.93% เท่านั้น แทบไม่ลดลงเลย

ถึงแม้ในความเป็นจริงควันพิษบุหรี่อาจจะมีสารพิษที่เป็นอันตรายมากกว่า แต่เราก็ละเลยอันตรายจาก PM 2.5 ไม่ได้จริงๆ งานวิจัยระบุว่าคนไทยเสียชีวิตจากฝุ่น PM2.5 ประมาณ 70,000 คนต่อปี ขณะที่องค์การอนามัยโลกพบว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจาก PM2.5 สูงเป็น 4 เท่าของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการจราจรทางบก

หลาย ๆ ท่านก็บอกว่าปัญหานี้แก้ไม่ได้หรอก ยังไงก็ต้องทนอยู่กันไป ผมขอยกตัวอย่างการแก้ปัญหาของกรุงลอนดอนที่ในอดีตเคยเจอปัญหาฝุ่นพิษมาหนักมามากกว่าเราวันนี้เขาก็สามารถทำให้อากาศกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ถึงแม้จะใช้เวลาหลายสิบปี ในการเปลี่ยนจากฉายาจาก“City of fog” หรือเมืองแห่งหมอก มาเป็นเมืองที่อากาศสะอาดได้ จะทำก็ทำได้

ในปัจจุบันแค่อากาศสะอาดอย่างเดียวยังไม่พอเมื่อประมาณ 3 ปีก่อน “ซาดิก ข่าน” นายกเทศมนตรีลอนดอนยังได้ตั้งเป้าหมายที่สูงกว่านั้นนั้นคือทำให้ “อากาศในเมืองนั้นบริสุทธิ์และปลอดภัย” โดยตั้งเป้า ลดระดับฝุ่น PM 2.5 ให้เหลือเพียง “10 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร” ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกในปี 2573 หรือ 2030 ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการดำเนินนโยบายต่าง ๆ อย่างจริงจังรู้ไว้ไม่เสียหาย เช่น

- การกำหนดเขตควบคุมการปล่อยมลพิษต่ำ (ULEZ) ซึ่งทำให้ค่า PM 2.5 ลดลง 27 % ใน 2 ปี

- ขยายเครือข่ายการตรวจสอบคุณภาพอากาศ เพื่อทราบจุดที่มีมลพิษได้ละเอียดขึ้น

- การขยายระบบขนส่งสาธารณะให้ทั่วถึงมากขึ้น มีการดูแลควบคุมรถบัสและรถแท็กซี่ เพื่อลดมลพิษที่เกิดจากการขนส่งบนท้องถนนซึ่งเป็นแหล่งปล่อย PM2.5 ในท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุด

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเมืองและหลายประเทศที่เจอมาหนักกว่า แต่เขาก็ทำได้สำเร็จ ได้เวลาแล้วรึยังที่เราจะหยุดนิ่งเฉยกับปัญหานี้ มาร่วมกันแก้ปัญหานี้อย่างจริงจังกัน เพื่ออนาคตของลูกหลานไทยกันนะครับ

ขอบคุณ FB.เอ้ สุชัชวีร์

 

 

ข่าวล่าสุด

AESLA เปิดตัวนวัตกรรม Yellow Laser 577nm และ Dual Diode Laser ยกระดับการรักษาปัญหาผิว

AESLA เปิดตัวนวัตกรรม Yellow Laser 577nm และ Dual Diode Laser ยกระดับการรักษาปัญหาผิว

AESLA เปิดตัวนวัตกรรม Yellow Laser 577nm และ Dual Diode Laser ยกระดับการรักษาปัญหาผิว

กวินฯ เปิดตัวจัดงาน "Licensing Show ASEAN 2025" ลิขสิทธิ์ครั้งแรกในไทยและอาเซียน

กวินฯ เปิดตัวจัดงาน "Licensing Show ASEAN 2025" ลิขสิทธิ์ครั้งแรกในไทยและอาเซียน

"Licensing Show ASEAN 2025" งานประชุมและแสดงสินค้าระดับนานาชาติครั้งแรกที่เชื่อมโยงโอกาสด้านการอนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม

UFM จัดงานฉลองครบรอบ 60 ปี ตอกย้ำความสำเร็จ แป้งสาลีเจ้าแรกของไทย

UFM จัดงานฉลองครบรอบ 60 ปี ตอกย้ำความสำเร็จ แป้งสาลีเจ้าแรกของไทย

UFM จัดงานฉลองครบรอบ 60 ปี “UFM Food Fair” ชุมชนเบเกอรี่และอาหารแห่งความทรงจำ ตอกย้ำความสำเร็จ แป้งสาลีเจ้าแรกของไทย